วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 15

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 15 วันที่ 27 กันยายน 2554
เนื่องจากช่วงนี้ดิฉันยังไม่สามารถมาเรียนได้เพราะต้องอยู่ในความดูแลของหมอค่ะ

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 14

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 14 วันที่ 20 กันยายน 2554
เนื่องจากดิฉันป่วยต้องไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลจึงไม่สามารถมาเรียนตามปกติได้ค่ะ

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 13

บันทีกการเข้าเรียนครั้งที่ 13 วันที่ 13 กันยายน 2554
การเขียนแผนวิทยาศาสตร์
สาระการเรียนรู้ >> สิ่งที่อยู่รอบตัว
>> เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
>> บุคคลและสถานที่
>> ธรรมชาติ
สมรรถนะ >> ร่างกาย
>> อารมณ์
>> สังคม
>> ภาษา
>> คณิตศาสตร์
>> วิทยาศาสตร์
>> สร้างสรรค์

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 12

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 12 วันที่ 6 กันยนยน 2554
- กลุ่มของดิฉันนำเสนอสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์จากแกนทิชชู
- อาจารย์ร่วมกันวิเคราะห์การสอนแบบโครงการของนักศึกษาแต่ล่ะกลุ่ม สำหรับกลุ่มของดิฉันได้นำเสนอเรื่อง "บัว"
ข้อเสนอแนะของอาจารย์
- เขียนชื่อสิ่งที่เด็กอยากรู้
- ก่อนที่จะเริ่มโครงการ (ระยะที่ 2 ) เขียนสิ่งที่เราจะทำ
ดู วิดีโอเรื่อง "น้ำ"
>> น้ำเป็นส่วนประกอบของร่างกาย 70 %
>> สิ่งต่างๆในโลกมีน้ำเป็นส่วนประกอบ
>> น้ำในร่างกายช่วยปรับสมดุลและอุณหภูมิในร่างกาย
คุณสมบัติของน้ำ
>> ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ
>> น้ำจะระเหยเมื่อโดนความร้อน
>> เมื่อน้ำกลายเป็นน้ำแข็งจะขยายตัว 12 %
>> น้ำเกลือมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำเปล่า
>> น้ำยิ่งลึกความดันยิ่งมาก
>> ความกดดันของน้ำขึ้นอยู่กับความลึกของปริมาตรของน้ำ
แรงตึงผิว
>> สบู่มีสารลดแรงตึงผิวทำให้เรือวิ่งในน้ำได้
>> น้ำสามารถแทรกตัวเข้าไปอยู่ในช่องว่างของวัตถุได้

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 11

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 11 วันที่ 30 สิงหาคม 2554
แกนทิชชู >> วิทยาศาสตร์ >> สิ่งที่อยู่รอบตัว
>> ผลิตจากธรรมชาติ
>> เปลี่ยนแปลงได้
>> มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต >> ขยะ >> ตัดต้นไม้ >> สภาพแวดล้อม
>> ทำให้เกิดพลังงาน
>> แก้ปัญหา >> อย่าใช้เยอะ
>> ใช้ใหม่ >> เปลี่ยน/ประยุกต์ >> ขยะ
การเรียนแบบโครงการ
1. เริ่มโครงการ > หาหัวข้อเรื่อง > ให้เด็กนำเสนอ
> พูด เขียน เลือก/ขีดสัญลักษณ์
> หนูอยากรู้อะไร > ถาม - ตอบ > พูด เขียน สรุป
> ทำอย่างไร > สถานที่
> บุคคล
> กิจกรรม
> ทบทวนประสบการณ์เดิม
2. ดำเนินโครงการ
3. สรุป/นำเสนอ

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 10

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 10 วันที่ 23 สิงหาคม 2554
การจัดกิจกรรม
ลงมือกระทำ >> - มือ
- ตา
- หู
- จมูก
- ลิ้น
ความคิดสร้างสรรค์ >> ความคิดริเริ่ม
>> ความคิดยืดหยุ่น
>> ความคิดคล่องแคล่ว
>> ความคิดละเอียดละออ
วิธีการ >> สอดคล้องกับพัฒนาการ
>> มีความหลากหลายที่ตัวกระบวนการ/สื่่อ
เนื้อหา >> สอดคล้องกับหน่วย
ลำดับขั้น >> ขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นสรุป
ตัวอย่างการสอนแบบโครงการ เรื่องดอกไม้
ครูให้เด็กเลือกเรื่องที่อยากเรียน โดยทำเป็นแผนผัง ดังนี้
- ส่วนประกอบของดอกไม้มีอะไรบ้าง
- ดอกไม้มีสีอะไรบ้าง
- ดอกไม้มีประโยชน์อย่างไร
- ดอกไม้ขยายพันธุ์ด้วยวิธีใด
- ดอกไม้มีวิธีการดูแลอย่างไร
- ดอกไม้มีวิธีการปลูกอย่างไร
- ดอกไม้มีพิษอย่างไรบ้าง
กิจกรรม
- เคลื่อนไหวและจังหวะ >> แต่งเพลงเกี่ยวกับดอกไม้
- กิจกรรมเสริมประสบการณ์ >> เชิญวิทยากรมาให้ความรู้
>> ไปดูสถานที่จริง
- กิจกรรมศิลปะ >> วาดรูปส่วนประกอบของดอกไม้
>> พิมพ์ภาพ
>> ประดิษฐ์ดอกไม้
>> แต่งนิทานร่วมกัน
>> ประกอบอาหาร
- กิจกรรมเสรี >> มุมประสบการณ์
- เกมเกมศึกษา
สรุป/นำเสนอ >> นิทรรศการ
>> เพลง
>> อาหารที่เด็กทำ
>> งานประดิษฐ์
เชิญชวน >> ทำป้าย
>> การ์ดเชิญ



บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 9


บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 9 วันที่ 16 สิงหาคม 2554
เริ่มต้นด้วยการส่งของเล่นวิทยาศาสตร์ทีละคนและอาจารย์ได้ร่วมวิเคราะห์ทักษะทางวิทยาศาสตร์ หลังจากนั้นก็ศึกษาวิดีโอ เรื่อง แสง
ความสำคัญของแสง
- ถ้าไม่มีแสงจะทำให้มองอะไรรอบตัวไม่เห็นเลย
- แสงเป็นคลื่นที่มีความสั้น/คลื่นที่เร็วมาก
- แสงเดินทางเป็นเส้นตรง
- มีวัตถุที่แสงเดินทางผ่านได้ เช่น วัตถุโปร่งแสง, วัตถุโปร่งใส >> กระจก
วัตถุทึบแสง >> ไม้ หิน เหล็ก คน
ประโยชน์
- ใช้ทำกล้องรูเข็ม/ การตกกระทบของแสง
- การสะท้อนของแสง/ ทำกล้องของเรือดำน้ำ
คุณสมบัติ
- การตกกระทบ
- การสะท้อน
- การหักเห

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 8

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 8 วันที่ 9 สิงหาคม 2554
สัปดาห์สอบกลางภาค

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 7


บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 7 วันที่ 2 สิงหาคม 2554
วันนี้ดิฉันได้นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ คือ กระป๋องผิวปาก
อุปกรณ์
- กระป๋องน้ำอัดลม
- หลอดดูดน้ำ
- เทปกาว
วิธีทำ
- วางหลอดไว้บนรูของกระป๋องประมาณ 1/3 ของรูกระป๋อง
- ติดเทปกาวระหว่างหลอดกับรูของกระป๋อง
วิธการเล่น
- เมื่่อเป่าลมผ่านรูของหลอดเข้าสู่กระป๋องจะทำให้เกิดเสียงดัง
- ลมที่เป่าผ่านหลอดจะมีแรงดันสูงเมื่อกระทบกับปากของกระป๋อง
- กระป๋องก็จะเกิดการสั่นสะเทือนจึงทำให้เกิดเสียงดัง
ข้อเสนอแนะของอาจารย์
ทำเพิ่มอีก 1 อัน โดยใช้กระป๋องที่มีขนาดต่างกันและเตรียมหลอดไว้สำรองอีก

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 6

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 6 วันที่ 26 กรกฎาคม 2554
อาจารย์เริ่มต้นด้วยการอธิบายหลักการและเหตุผล ในการเขียนโครงการลด ละ เลิก เหล้า บุหรี่ และสิ่งเสพติดถวายพ่อหลวง 84 พรรษา โดยมีหัวข้อ ดังนี้
>> หลักการและเหตุผล
>> กิจกรรม
>> สื่อ
>> ผลที่ได้รับ
หลังจากนั้นก็ได้เริ่มเรียนใน เรื่องลักษณะเด็กปฐมวัย
เด็กปฐมวัย >> - วัยทีมีความอยากรู้อยากเห็น
- วัยที่มีพัฒนาการทางสติปัญญาสูงที่สุดของชีวิต
- แสวงหาความรุ้สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ >> เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้
ความหมายทักษะการสังเกต >> การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ หลายอย่างร่วมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสตรงกับวัตถุ
- การสังเกตรูปร่างลักษณะและคุณสมบัติทั่วไป
- การสังเกต
ความหมายทักษะการจำแนกประเภท >> ความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งต่างๆ โดยการใช้เกณฑ์
- ความเหมือน
- ความแตกต่าง
- ความสัมพันธ์ร่วม
ความหมายทักษะการวัด >> การใช้เครื่องมือต่างๆวัดหาปริมมาณที่เราต้องการทราบได้อย่างถูกต้อง โดยมีหน่วยการวัดกำกับ
- รู้จักสิ่งของที่จะวัด
- การเลือกเครื่องมือที่นำมาวัด
- วิธีการที่เราจะวัด
ความหมายทักษะการสื่อความหมาย >> การพูด การเขียน รูปภาพและภาษาท่าทาง การแสดงสีหน้า ความสามารถรับข้อมูลได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
- บรรยายคุณลักษณะของวัตถุ
- บันทึกการเปลี่ยนแปลงของวัตถุได้
- บอกความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ได้จัดกระทำ
- จัดกระทำข้อมูลในรูปแบบต่างๆ
ความหมายทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล >> การเพิ่มเติมความคิดเห็นให้กับข้อมูลโดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์
ความหมายทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา >> การเห็นและเข้าใจภาพที่เกิดบนกระจกเงา การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลาสำหรับเด็กปฐมวัยและการรู้จักเรียนรู้ 3 มิติ
- ชี้บ่งภาพ 2 มิติ และ 3 มิติ
- บอกความสัมพันธ์ระหว่างทิศทางของวัตถุ
ความหมายทักษะและการคำนวณ >> ความสามารถในการนับจำนวนของวัตถุ การบวก ลบ คูณ หาร การนับจำนวนของวัตถุ การนับจำนวนตัวเลขมากำหนดบอกลักษณะต่างๆเช่น ความกว้าง ความยาว ความสูง พื้นที่ ปริมาตร น้ำหนัก
- การนับจำนวนของวัตถุ
- การบวก ลบ คูณ หารล
- การนับจำนวนตัวเลขมากำหนดหรือบอกลักษณะต่างๆของวัตถุ
ทำไมต้องสอนวิทยาศาสตร์
- มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย
- หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2546
- ความจำเป็นที่จะต้องนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย => มาตรฐานที่ 5 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ มีวิจารณญาณและมีความคิดสร้างสรรค์




บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 5

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 5 วันที่ 19 กรกฎาคม 2554
เนื่องจากวันนี้ดิฉันมีความจำเป็นต้องไปต่างจังหวัดกับผู้ปกครองจึงไม่สามารถมาเรียนได้ค่ะ

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 4

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 4 วันที่ 12 กรกฎาคม 2554
กลุ่มของดิฉันได้นำเสนองานก็ที่่ไม่ผ่านจากสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยได้เปลี่ยนเป็นการนำเสนอในรูปแบบรายการทีวี เรื่องแนวคิดนักการศึกษา
ข้อเสนอแนะจากอาจารย์
- ในขณะที่นำเสนองานน่าจะมีการเปลี่ยนหน้า Power Point ไปด้วยตามที่หัวข้อนำเสนอในขณะนั้น
- อาจารย์ได้อธิบายเพิ่มเติมในหัวข้อเรื่อง แนวคิดของจอน ดิวอี้ และ แนวคิดของ โรเจอร์ คาพาส
หลังจากที่นำเสนองานเสร็จกลุ่มของดิฉันก็ได้นำเสนอกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ในเรื่อง การโยนไข่จากที่สูง ดังนี้
ชื่อการทดลอง
ไข่ลอยฟ้า
อุปกรณ์
- ไข่ไก่ 2 ฟอง
- กล่องกระดาษ 2 กล่อง
- กระดาษเหลือใช้
ขั้นตอนในการจัดกิจกรรม
นำไข่ไก่ใส่ในกล่องกระดาษที่เตรียมไว้กล่องละ 1 ฟอง โดยนำกระดาษห่อไข่ 1 ฟอง อีก 1 ฟอง ไม่ต้องห่อ นำกล่องทั้งสองโยนจากที่สูงในระดับเดียวกัน สังเกตไข่ในกล่องว่าเป็นอย่างไร
ผลการทดลอง
จะพบว่า กล่องที่มีกระดาษห่อไข่ ไข่จะไม่แตก ส่วนกล่องที่ไม่มีกระดาษห่อไข่ ไข่ในกล่องแตกกระจาย สาเหตุเป็นเพราะว่าเมื่อวัตถุได้รับการป้องกันจากภายนอกหลายๆชั้นจะทำให้ไม่ได้รับอัตรายจากสิ่งที่มากระทบกับวัตถุ
นอกจากนี้ก็มีการทดลองกิจกรรมวิทยาศาสตร์จากสมาชิกในกลุ่มอื่นๆ



วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 3

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 3 วันที่ 5 กรกฎาคม 2554

สำหรับวันนี้อาจารย์เริ่มต้นจากการสำรวจเครื่องแต่งกายนักศึกษา หลังจากนั้นนักศึกษาแต่ละกลุ่มก็ได้ออกมานำเสนองานของตนเองที่ไดัรับมอบหมาย
สำหรับกลุ่มกิจกรรมวิทยาศาสตร์ได้มีการนำเอากิจกรรมมาให้เืพื่อนๆ ในห้องได้ลงมือปฏิบัติจริง ประกอบไปด้วยกิจกรรมพิมพ์ภาพ กิจกรรมเป่าสี กิจกรรมพับสี ทำให้รู้ถึงสภาพปัญหาและประโยชน์ที่ได้รับในการทำกิจกรรม
หลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้สรุปเกี่ยวกับกิจกรรมศิลปะที่ได้ทำให้ทราบว่า กิจกรรมศิลปะสามารถเชื่อมโยงไปสู่วิทยาศาสตร์ได้
สำหรับกลุ่มหาของเล่นที่สามารถประดิษฐ์ได้ ได้จัดกิจกรรม "กังหันลม" โดยทำกังหันจากกระดาษ จากการทำกิจกรรมสรุปได้ว่า วิทยาศาสตร์ไม่ได้อยู่ที่ตัวกังหันเพียงอย่างเดียวแต่วิทยาศาสตร์อยู่ที่กระบวนการทำงาน
สำหรับกลุ่มสุดท้าย คือ กลุ่มหาตัวอย่างสื่อวิทยาศาสตร์ สมาชิกในกลุ่มนำเอา "สี" มาเป็นตัวอย่างสื่อวิทยาศาสตร์โดยได้นำเอาสี 3 สี มาผสมกันเพื่อให้เกิดเป็นสีใหม่ และอีกกิจกรรมมีการนำเอาของที่ตนเองชอบมากที่สุดมาทำให้เกิดเสียงซึ่งสื่อที่นำมาใช้ในกิจกรรมคือ "สิ่งของ"
ส่วนกลุ่มอื่นๆรวมทั้งกลุ่มของดิฉันอาจารย์ได้ให้ไปปรับเปลี่ยนวิธีการนำเสนอแบบใหม่ที่น่าสนใจมากกว่านี้ในสัปดาห์หน้า
งาน
เตรียมกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 1 กิจกรรม ซึ่งประกอบไปด้วย
- ขั้นตอนในการจัดกิจกรรม
- อุปกรณ์
- วิธีการทำกิจกรรม



วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 2

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 2 วันที่ 28 มิถุนายน 2554

สำหรับการเรียนในวันนี้เริ่มต้นด้วยการฟังเพลงที่อาจารย์เตรียมมา หลังจากนั้นก็ร่วมกันวิเคราะห์ว่าเพลงที่ฟังนั้น ได้รับความรู้อะไร เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ตรงไหน และนำไปใช้ในการเรียนการสอนอย่างไร จากการวิเคราะห์สรุปได้ว่าดังนี้
1. ความรู้>>น้ำ เมื่อถูกความร้อนจะกลายเป็นไอ
2. วิทยาศาสตร์>>น้ำเกิดการเปลี่ยนแปลงเมื่อโดนความร้อน
>>มีผลต่อการดำรงชีวิต
>>ทำให้เห็นถึงคุณสมบัติของของเหลว
3. นำไปใช้ในการเรียนการสอนอย่างไร>>นำไปใช้ในการสร้างหน่วยเนื้อหา
>>ใช้เพลงเป็นสื่อในการเรียนการสอน
ทักษะทางปัญญา
- คิดและวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ
- ประยุกต์ความรู้เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบและวางแผนการนำเสนอข้อความรู้อย่างสร้างสรรค์
ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
- ใช้ภาษาไทยในการศึกษา และนำเสนอได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
- ให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ และแก้ไขเมื่อพบปัญหา
ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
- ใช้เทคโนโลยีในการเชื่อมโยง
วิทยาศาสตร์
ความหมาย >>> สิ่งที่อยู่รอบตัวเรา
>>> มีชีวิต /ไม่มีชีวิต
>>> มีปัจจัยที่ก่อให้เกิดวิทยาศาสตร์
>>> พิสูจน์ได้
ความสำคัญ >>> ใช้ในชีวิตประจำวัน
>>> ใช้ในการสร้างอาชีพ
>>> ใช้ในการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก
>>> ใช้ในการพยากรณ์อากาศ










วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 1

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 1 วันที่ 21 มิถุนายน 2554
การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
การจัด>>>การวางแผน การออกแบบ
ประสบการณ์>>>การสร้างกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
วิทยาศาสตร์>>> 1. เนื้อหา 2. ทักษะ>>>สมมุติฐาน>ทดลอง>สังเกต>บันทึก>สรุป
เด็กปฐมวัย>>>วิธีการเรียนรู้ ความสามารถ ความต้องการ